SPACE CHALLENGE ASIA

Flight Simulator Competition/Challenge

Flight Simulator

การแข่งขัน Flight Simulator ในงาน Space Apps เป็นการทดสอบทักษะการบินของผู้เข้าแข่งขันในสถานการณ์จำลองที่สมจริงสูง ผู้แข่งขันต้องนำทางผ่านภารกิจต่างๆ เช่น การบินตามเส้นทางที่กำหนด การลงจอดในสภาพอากาศที่ท้าทาย และการแสดงการควบคุมเครื่องบินอย่างแม่นยำภายใต้เงื่อนไขที่เลียนแบบการบินจริงอย่างใกล้เคียง สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการบินหรือผู้ที่มีประสบการณ์กับ Flight Simulator การแข่งขันนี้เป็นโอกาสดีที่จะได้แสดงทักษะและความเชี่ยวชาญของตนในสภาพแวดล้อมเสมือนจริงที่จำลองสภาวะการบินในโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างใกล้เคียง

กำหนดการ

วันที่ 25 พฤษจิกายน 2567
กิจกรรม
  • 13.00 - 13.30 น   เปิดให้ลงทะเบียนการแข่งขัน
  • 13.30 - 14.30 น.  เชิญชมกิจกรรมสาธิต Drone Soccer
  • 14.30 - 18.00 น. การแข่งขัน Flight Simulator Championship 2024 (รอบคัดเลือก)
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2567
การแข่งขันโดรน
  • 10.30 - 12.30 น. การแข่งขัน Drone Swarming Challenge 2024 (รอบเช้า) (Morning Session)
  • 12.30 - 13.30 น. พักเที่ยง
  • 13.30 - 15.30 น. การแข่งขัน Drone Swarming Challenge 2024 (รอบบ่าย)
  • 15.30 - 17.00 น. เชิญชมกิจกรรมสาธิต Drone Soccer
  • 17.00 น. เสร็จสิ้นกิจกรรมวันที่สอง
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567
พิธีเชิญถ้วยพระราชทาน

08.30 น. พิธีอัญเชิญถ้วยพระราชทานฯ

  • ประธาน คณะผู้จัดงาน และแขกผู้มีเกียรติ ถึงบริเวณงานเจ้าหน้าที่อัญเชิญถ้วยพระราชทานฯ 1 ใบ ประดิษฐานไว้ที่โต๊ะหมู่หน้าพระบรมฉายาลักษณ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

09.00 น. ประธานในพิธีรับถ้วยรางวัลพระราชทาน

  • ถวายความเคารพ
  • ประธานในพิธีเปิดกรวย และวางพวงมาลัย
  • ประธานในพิธีรับถ้วยรางวัลพระราชทาน
  • เปิดเพลงสรรเสริญพระบารมี
  • ประธานในพิธีแสดงความเคารพ

10.00 น. เสร็จพิธีอัญเชิญถ้วยพระราชทานฯ และถ่ายภาพที่ระลึก

12.30 - 15.00 น. การแข่งขัน Flight Simulator Championship 2024 (รอบชิงชนะเลิศ)

15.00 - 15.30 น. ประกาศผลการแข่งขัน

  • Drone Swarming Challenge 2024
  • Flight Simulator Championship 2024

15.30 - 16.30 น. พิธีรับมอบพระราชทานถ้วยรางวัลพระราชทานฯ

  • ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขัน รับถ้วยพระราชทานต่อหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ประธานพิธีให้โอวาท รับของที่ระลึกจากทางคณะผู้จัดงาน 

16.30 น. ถ่ายภาพที่ระลึก

17.00 น. เสร็จสิ้นพิธีการและกิจกรรมทั้งหมด

คุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน

  • Junior Class (Approximately ages 6-14)

  • Advanced Class (Approximately ages 15-18)

  • Masters Class (Over ages 18)

กฎกติกา

รูปเเบบการเเข่งขัน

  • ผู้เข้าแข่งขันจำเป็นต้องบันทึกการลงจอดของตน เพื่อนำเสนอภาพรวมของกระบวนการลงจอดโดยละเอียด นอกจากนี้ พวกเขาจะต้องรับมือกับสถานการณ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า อาทิ การจัดการกับน้ำหนักบรรทุกที่แตกต่างกัน สภาพอากาศที่ไม่สามารถอาจคาดเดาได้ เช่น ฝนตกหรือหลอกลงจัด ความแรงลมที่แปรปรวน ตลอดจนช่วงเวลาที่หลากหลาย ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

  • ผู้เข้าร่วมจำเป็นต้องติดตั้งกล้องซึ่งควรวางไว้ด้านหลังของพวกเขาเพื่อบันทึกการควบคุมอากาศยาน เป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้เข้าแข่งขันกำลังบังคับอากาศยานด้วยตนเองจริง เมื่อบันทึกวิดีโอเสร็จสิ้น ผู้เข้าร่วมต้องอัปโหลดไปยังแพลตฟอร์มที่กำหนดไว้

  • การแข่งขัน Flight Simulator จะจัดขึ้นในรูปแบบการแข่งขัน ณ สถานที่จัดงาน (On-site Competition) เท่านั้น ผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกท่านจำเป็นต้องเดินทางมายังสถานที่จัดการแข่งขันที่กำหนดไว้ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมและทำการแข่งขันด้วยตนเอง

Junior Class: ไม่มีข้อจำกัดในการใช้มุมมอง
Advanced and Masters Class: อนุญาตให้ใช้มุมมองจากห้องนักบินเท่านั้น

มุมการติดตั้งกล้องสังเกตุการณ์

หน้าที่และภารกิจ

ผู้เข้าร่วมต้องบันทึกการลงจอดเพื่อให้ภาพรวมของกระบวนการลงจอด ในการแข่งขันจะมีภารกิจ Landing Challenge ซึ่งจะเป็นภารกิจ Strong Wind ที่ สนามบินฟุนซาล (LPMA), โปตุเกส โดยจะได้รับสถานการณ์การลงจอดที่กำหนดดังนี้

  1. สภาพอากาศในโปรแกรม สถานการณ์การลงจอดต่างๆ จะมีสภาพอากาศร่วมด้วย เช่น ฝนตก, มีหมอก หรือ หิมะตก
  2. ความเร็วลม ความเร็วและทิศทางลงนั้นจะส่งผลต่อการลงจอด และเป็นเงื่อนไขทีจำเป็นในการแข่งขันอย่างมาก
    และต้องถูกตั้งค่าอย่างแม่นยำในโปรแกรมจำลองการบิน
  3. เวลาในช่วงการบิน ผู้เข้าแข่งขันต้องปรับน้ำหนักบรรทุกของอากาศยานให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรรมการกำหนด

    * ทั้งนี้การตั้งค่าสถานการณ์เฉพาะต่างๆ จะเป็นไปตามแนวทางของกรรมการโปรดปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด.*
Funchal Airport (LPMA), Portugal
RNAV approach to Funchal (LPMA)
Landing Challenge, Strong wind, Funchal Airport (LPMA)

การบินระยะสั้น 

  • รายละเอียดผู้เข้าร่วมต้องบินจากสนามบินต้นทางไปยังสนามบินปลายทางในระยะทางสั้น ๆ
                           (เช่น ภายในประเทศเดียวกัน)
  • ความท้าทายการจัดการการขึ้นและลงจอด, การจัดการเวลาบิน, การประหยัดเชื้อเพลิง

การบินระยะไกล

  • รายละเอียดการบินจากสนามบินต้นทางไปยังสนามบินปลายทางที่มีระยะทางยาวกว่า (เช่น การบินระหว่างประเทศ)
  • ความท้าทายการจัดการเชื้อเพลิง, การบินในเวลานาน, การจัดการเส้นทางบินที่ซับซ้อน

การบินผ่านสถานการณ์จำลองฉุกเฉิน

  • รายละเอียดผู้เข้าร่วมจะต้องจัดการกับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ที่ถูกจำลองขึ้นมา เช่น การสูญเสียเครื่องยนต์ หรือสภาพอากาศที่เลวร้าย
  • ความท้าทายการตัดสินใจในสถานการณ์ฉุกเฉิน, การควบคุมเครื่องบินภายใต้ความกดดัน

การบินแสดงทักษะ

  • รายละเอียดผู้เข้าร่วมจะแสดงทักษะการบินที่ซับซ้อน เช่น การบินแบบผาดโผน, การหมุนตัว, หรือการบินในรูปแบบต่าง ๆ
  • ความท้าทายความแม่นยำในการควบคุมเครื่องบิน, การประสานงานการเคลื่อนไหวของเครื่องบิน

อุปกรณ์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแข่งขัน

  • เครื่องคอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถสูงพอที่จะรันซอฟต์แวร์ Flight Simulator ได้อย่างราบรื่น
  • ซอฟต์แวร์ใช้โปรแกรม Flight Simulator ที่มีชื่อเสียง เช่น Microsoft Flight Simulator, X-Plane, หรือ Prepar3D
  • อุปกรณ์การควบคุมจอยสติ๊ก, แผงควบคุมการบิน (throttle), แผงปุ่ม (button panel), และอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่นแว่นตา VR เพื่อเพิ่มความสมจริง

ตารางการให้คะแนน

Judging Criteria Point
การลงตรงเป้าหมาย
5,000
การลงบนกึ่งกลาง Runway
5,000
ลงจอดได้นุ่มนวล
200
Total score 2,000,000

ขั้นตอนในการได้รับคะแนน

  • ผู้เข้าแข่งขันต้องบันทึกวีดิโอการลงจอดโดยกล้องสองตัวตามมุมต่างๆ ที่ระบุไว้ในกฏการแข่งขัน: โดยกล้องตัวที่ 1 จะอยู่ด้านหลังของผู้เข้าแข่งขัน และ กล้องตัวที่ 2 จากมุมสูงที่ก้มลงมาของผู้เข้าแข่งขัน
  • วิดีโอต้องแสดงการเข้าสู่สนามบิน การลงจอด และการวิ่งบนทางวิ่งอย่างครบถ้วน โดยแสดงให้เห็นการควบคุมของผู้เข้าแข่งขัน หน้าจอจำลองการบิน และคะแนนผลลัพธ์ที่ปรากฏเมื่อจบภารกิจอย่างชัดเจน
  • ไฟล์วิดีโอต้องถูกอัปโหลดไปยังแพลตฟอร์มที่กำหนด โดยส่งลิงก์เป็นผลงานการเข้าแข่งขันอย่างเป็นทางการ (ซึ่งจะประกาศให้ทราบในเร็วๆ นี้)

รางวัล

รางวัลจะถูกมอบให้ตามลำดับผลการแข่งขันของทีมต่างๆ โดยผู้ชนะในแต่ละประเภทจะได้รับประกาศนียบัตรเกียรติคุณจาก Space Challenge Asia

ติดต่อเรา

หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับการแข่งขันหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเรา

WhatsApp
Line Openchat

คำถามที่พบบ่อย

ใช้ได้ ผู้เข้าร่วมสามารถใช้ฮาร์ดแวร์ภายนอกได้ แต่การควบคุมทั้งหมดต้องแสดงให้เห็นในวิดีโอที่ส่งเข้ามา

ผู้จัดการแข่งขันจะระบุประเภทของเครื่องบินที่ใช้ในสถานการณ์การลงจอด ซึ่งไม่อนุญาตให้มีการดัดแปลง

คำแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการตั้งค่าสภาพอากาศและลมจะถูกจัดเตรียมพร้อมกับสถานการณ์การลงจอด

ไม่อนุญาตให้แก้ไขวิดีโอ การส่งต้องเป็นการบันทึกอย่างต่อเนื่องของกระบวนการลงจอดทั้งหมด

thThai
Scroll to Top